ตอบ
ดรุณธรรม ๖ ประการ น่าจะแปลว่าธรรมสำหรับเด็กรุ่นหนุ่ม/สาว หรือธรรมสำหรับเด็กวัยรุ่น/หรือธรรมสำหรับเยาวชน ครับ เพราะมากแยกคำศัพท์ดูแล้ว รากศัพท์มาจาก 2 ศัพท์ด้วยกันคือ ตรุณ+ ธรรม มาจากรากศัพท์ทางภาษาบาลี ตรุณ แปลว่า อ่อน, หนุ่ม,รุ่นหนุ่ม/สาว,ใหม่ มีรูปวิเคราะห์ทางภาษาบาลีว่า พาลภาวํ ตรตีติ ตรุโณ
(ปุคฺคโล) แปลว่า โย ปุคฺคโล อันว่าบุคคลใด ตรติ ย่อมข้ามพ้น พาลภาวํ ซึ่งความเป็นเด็ก อิิติ เพราะเหตุนั้น โส ปุคฺคโล อันว่า บุคคลนั้น ชื่อว่า ตรุโณ ๆ แปลว่า ผู้ข้ามความเป็นเด็ก ก็แสดงว่าเป็นหนุ่มสาว หรือวัยรุ่น/หรือเยาวชน นั้นเอง มาจากรากศัพท์ว่า ตร ธาตุ แปลว่าข้าม ลง อุโณ ปัจจัย ทางภาษบาลี สำเร็จรูปเป็น ตรุณ ศัพท์ ที่เป็นปุํงลิงค์ ตรุโณ ( เพศชาย) นำไปแจกอย่าศัพท์ที่เป็นเพศชาย ถ้าเป็นอิตถีลิงค์(เพศหญิง) ลงอีการันต์ ตามภาษาบาลี นำไปแจกตามแบบ อิตถีลิงค์(เพศหญิง) เป็น ตรุณี ดังนั้นเวลา มาเขียนเป็นภาษาไทยจากที่เป็น ต เต่า ในภาษาบาลี ภาษาไทยใช้ เป็น ด เด็กกลายมาเป็น ดรุโณ (ชายหนุ่ม) ดรุณี (หญิงสาว) ที่นี้ก็มาว่าถึง ธรรม นะครับ คำว่า ธรรม ไม่ต้องอิธิบายมากนะครับ ธรรมมาจากภาษาบาลีเหมือนกันนั้นแหละ แปลว่า สภาวะที่ทรงไว้ซึ่งความเป็นจริง นั้นแหละชื่อว่าธรรม คือ ดีก็คือดี ชั่วก็คือชั่ว จะเปลี่ยนดีเป็นชั่วหรือชั่วเป็นดีไม่ได้ สภาวะที่ทรงไว้ซึ่งความเป็นจริงนี่แหละชื่อว่าธรรม หรือ สภาวะที่เป็นจริงของกฎธรรมชาิติ คำธรรมนี่เป็นคำกลางๆอยู่นะครับ ถ้าเป็นธรรมที่ดีเติมสิ่งที่ดีข้างหน้า เช่นคุณธรรม, สุจริตธรรม ,กุศลธรรม ถ้าเป็นสิ่งที่ไม่ดีก็เติมที่ไม่ดีเข้าไป ทุจริตธรรม, อกุศลธรรม นะครับ เป็นประมาณนี่นะ ที่ว่าดรุณธรรม นั้นเมื่อแปลออกมาก็เข้า้ข่ายที่ว่าจะเป็นธรรมที่ดีสำหรับวัยรุ่นหรือ สำหรับเยาวชน ที่ว่ามี ๖ ข้อนั้น อันนี้ยังไม่กระจ่างแจ้งเท่ารัยนะว่าจะเป็นหัวข้อธรรมในหมวดไหนบ้าง อาจจะเป็น ธรรมหมวดที่ ๖ ในธรรมศึกษาก็ได้ไปหาดูนะครับ อาจจะเป็นคารวะ ๖ ก้อได้ นะ มีพุทธคารวตา ธรรมคารวตา สังฆคารวตา สิกขาคารวตา ปฏิสันถารคารวตา อัปปมา่ทคารวตา คือ เคารพในพระพุทธ เคารพในพระธรรม เคารพในพระสงฆ์ เคารพในการศึกษา เคารพในการตอนรับปฏิสันถาร และเคารพในความไม่ประมาท ฏ้เป็นได้นะ แต่ก้อมีธรรมหมวดที่ ๖ อีกเยอะแยะนะครับแต่ไม่แน่ใจว่าเป็นธรรมหมวดไหนกันแน่นะ ขอให้ไปสืบคนดูเอานะครับ จากหนังสือของพระสงฆ์นะครับหรือธรรมศึกษานะครับ เท่าที่หามาก็ได้ข้อมูลจากหนังสือ พจนานุกรม มคธ-ไทย ของพันตรี ป. หลงสมบูรณ์ และหนังสือของอาจารย์พระธรรมปิฎก(ป.อ. ปยุตฺโต) ผมก็ช่วยเหลือได้เท่านี่นะครับสำหรับท่านที่ถามมานะ ได้ความกระจ่างแจ้งเท่าใด้บ้างก็ไม่ทราบนะ ถ้าท่านผู้รู้ท่านอื่นทราบก็ช่วยตอบเป็นธรรมทานแก่ท่านผุ้ถามมาด้วยนะครับ โดยคุณ : คนธรรมดา -
[ 1 ต.ค. 2003 , 23:34:14 น.]
|