![]() |
สังคมไทยที่เคยสงบราบเรียบด้วยกรอบความคิดและทัศนะทางการปกครองแบบไพร่ฟ้า-ข้าไท ได้เกิดสภาวะปั่นป่วนระส่ำระสายทางประวัติศาสตร์อย่างเห็นได้ชัดในช่วงระหว่างปลายทศวรรษที่ 2450 ถึงต้นทศวรรษที่ 2490 ด้วยได้ปรากฏตัวละครสามัญชนคนหนึ่งที่โดเด่น แสดงบทบาทกวนใจ ท้าทายอำนาจผู้ปกครองทั้งฝ่ายอาณาจักรและศาสนจักรด้วยการทักท้วง แนะนำ จนถึงอบรมสั่งสอน ดุด่าว่ากล่าวอย่างรุนแกรง เปิดเผย ตรงไปตรงมา ต่อมาผู้ปกครองประเทศ ชนิดที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ถ้าคุณเป็นนักประวัติศาสตร์ที่ต้งอค้นคว้าศึกษาเอกสารในช่วงเวลาดังกล่าว คงยากที่จะหลบหลีกหนีจากชื่อของ นรินทร์ ภาษิต หรือนรินทร์ กลึง ซึ่งเป็นเจ้าของผลงาน แถลงการณ์เรื่องสามเณรี วัตร์นารีวงศ์ นรินทร์ เดิมชื่อ กลึง เกิดที่บ้านสวนริมแม่น้ำเจ้าพระยา ในครอบครัวชาวสวนคลองบางขวาง จังหวัดนนทบุรี เมื่อวันพุทธ ปีจอ พุทธศักราช 2417 อันเป็นช่วงที่สยามกำลังเร่งสร้างคุณภาพใหม่ให้กับคนในสังคม ทำให้เด็กชายกลึง ได้มีโอกาสเข้าศึกษาในสถาบันการศึกษาแบบดั้งเดิมของสังคมไทย คือ วัด ที่วัดพิชัยญาติ ได้รับการฝึกฝน อบรมบ่มเพาะทั้งทางโลกและทางธรรม จนกระทั่งอายุได้ 15 ปี จึงได้เข้าบวชเป็นสามเณรีในธรรมยุติกนิกาย ครองผ้าเหลืออยู่ได้ไม่ทันพ้นปีก็สึกออกมา ได้เข้ารับราชการในแผ่นดินพระพุทธเจ้าหลวงเป็นครั้งแรกในตำแหน่งเสมียน ด้วยความฉลาดหลักแหลมประกอบกับการเป็นคนเจ้าปัญญาอยากหาตัวจับยาก ส่งผลให้ข้าราชการหนุ่มลูกชาวสวนผู้นี้เป็นที่ไว้เนื้อเชื่อใจของเจ้านาย ในระยะเวลาไม่นานนัก ก็สามารถไต่เต้าขึ้นไปสู่ตำแหน่งและหน้าที่การงานอันถือว่ามีเกียรติในสังคม นายกลึงได้รับแต่งตั้งให้เป็นนายอำเภออยู่ที่จังหวัดชลบุรี พร้อมกับรับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น หลวงศุภมาตรา ด้วยความบ้าบิ่น และด้วยจิตสำนึกที่ว่าตนกินเงินภาษีของราษฎร ทำให้เขามุ่งมั่นปฏิบัติหน้าที่อย่างเด็ดเดี่ยวกล้าหาญ ไม่เกรงกลัวภยันตรายใดๆ ในการปราบปรามโจรผู้ร้ายเพื่อความสงบสุขของราษฎรในเขตรับผิดชอบ ความสามารถในการปราบโจรผู้ร้ายของเขาทำให้กรมขุนมรุพงษ์ศิริพัฒน์ ข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลปราจีณ เจ้านายโดยตรง เป็นความดีจึงกราบบังคมทูบลเสนอให้ได้รับพระราชทานตำแหน่งเจ้าเมืองนครนายก พร้อมกับบรรดาศักดิ์ใหม่เป็น พระพนมทสารนรินทร์ แต่นรินทร์รับราชการอยู่ได้ไม่นาน ก็มีความขัดแย้งกับผู้บังคับบัญชา และเห็นว่าขืนรับราชการต่อไปจะเป็นการฝืนอุดมการณ์ จึงตัดสินใจลาออกจากราชการในปี พ.ศ. 2452 ขณะมีอายุเพียง 35 ปี นรินทร์ลาออกจากราชการในช่วงที่สภาวการณ์ของโลกและบ้านเมืองกำลังเปลี่ยนแปลงหลายประการ กล่าวคือ ภายในประเทศ พลังใหม่ ได้ก่อตัวขึ้นภายในโครงสร้างของสังคมแบบเก่าราวกับดอกเห็ด พวกเขาจ้องรอคอยที่จะให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตามคติเสรีนิยมประชาธิปไตย ในช่วงนี้ สิ่งตีพิมพ์ดูเหมือนจะเป็นสื่อที่มีประสิทิภาพสูงสุดในการเผยแพร่และสะท้อนความคิดของผู้คนทั้งในและนอกสังคมไทย ปัญญาชนนักคิดต่างพากันแสวงหาแนวทางที่จะผลักดันให้สังคมไทยก้าวไปข้างหน้า นอกจานักคิดสามัญชนรุ่นอาวุโสอย่าง เทียนวรรณ ก.ศ.ร. กุหลาบ และปัญญาชนเมืองหลวงในวงราชการและหนังสือพิมพ์แล้ว นรินทร์ก็เป็นอีกผู้หนึ่งที่มุ่งมั่นค้นหาทางออกให้กับสังคมอย่างเอางานเอาการ ในระยะที่เพื่อนนักคิดร่วมสมัยหลายคนพากันละทิ้งของเก่าออกไปศึกษาคติธรรมตะวันตก เข้ากลับหวนมาศึกษาคติธรรมตะวันออกของพระพุทธเจ้าอย่างบ้าคลั่ง โดยตั้งข้อสงสัยว่า ถ้าสามารถขัดสิ่งเหลวไหลไร้เหตุผลที่เข้ามาปะปนอยู่ในความเชื่อของชาวพุทธไทยออกไป แล้วดำดิ่งเข้าสู่แก่นธรรมที่แท้จริงของคำสอน พุทธศาสนาจะเป็นหนทางนำสังคมและมวลมนุษยชาติสู่ความดีงามได้ คิดดังนั้น จึงได้หันหน้าเข้าหาธรรมะของพระพุทธเจ้า หนึ่งในการเคลื่อนไหวเรียกร้องที่สำคัญที่สุดครั้งหนึ่งในชีวิตของนรินทร์ ก็คือ การต่อสู้เรียกร้องให้มีการพื้นฟูสามเณรีและภิกษุณีในประเทศไทย การเคลื่อนไหวเรียกร้องครั้งนั้นถือเป็นเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ที่ได้ก่อให้เกิดการถกเถียงกันอย่างกว้างขวางในสังคมไทยขณะนั้น เพราะฉะนั้น ผมจึงได้ตั้งใจที่จะให้บุตรหญิงทั้งสองที่ได้บวชสามเณรีนี้แต่เดิมมา เพื่อให้ประพฤติตามเยี่ยงอย่างพระเจ้าแม่น้าโคตรมี ให้เกิดมีขึ้นในเมืองไทย จะได้สมซึ่งโลกยกย่องว่า ชาวไทยเป็นผู้นับถือพระพุทธศาสนายิ่งกว่าประเทศใดๆ ในโลก เหตุนี้ แม่หญิงทุกท่าน ควรระลึกถึงพระคุณของพระแม่น้าโคตรมี แล้วตอบแทนพระคุณด้วยการปฏิบัติตาม สืบอายุสามเณรีภิกษุณีวงศ์ให้เป็นไป เมื่อเป็นเช่นนี้ได้ พรภิกขุนีปาติโมกข์ อันพระบรมศาสดาทรงบัญญัติไว้ก็จะไม่เป็นหมัน ถ้าพากันละเลยเพิกเฉยเสียทั้งหมด ก็เป็นอันภิกษุณีมีครบบริษัท 4 ไม่ได้อยู่เอง เพราะฉะนั้น ขอท่านที่เป็นมารดา และบุตรหญิงจงช่วยกันเพื่ออย่าให้ภิกขุนีปาติโมกข์เป็นหมันเสียเลย เรื่องราวการบวชสามเณรีเป็นที่สนใจของคนทั่วไป มีทั้งที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย จึงเป็นข่าวเกรียวกราวอยู่ในหน้าหนังสือพิมพ์หลายวัน จนอาจกล่าวได้ว่า หากใครเป็นคนร่วมสมัยไม่รู้จักไม่เคยได้ยินเรื่องราของสามเณรี อาจถือว่าเป็นคนล้าหลังไม่ทันเหตุการณ์ได้ทีเดียว ครั้นบวชมาได้ประมาณ 2 เดือนเศษ เรื่องราวของการบวชสามเณรีก็กลายเป็นข่าวเกรียวกราวอีกครั้ง เมื่อหนังสือพิมพ์ทุกฉบับพากันลงข่าว สมเด็จพระสังฆราชทรงประกาศห้ามไม่ให้พระเณรทุกนิกายบวชหญิงเป็นภิกษุณี สามเณรีต่อไป เพราะผิดพุทธบัญญัติ หนังสือพิมพ์บางฉบับซึ่งไม่เห็นด้วยกับการฟื้นฟูภิกษุณีพากันคล้อยตามสมเด็จพระสังฤราช วิพากษ์วิจารณ์นรินท์แบบเสียๆ หาย ๆ เช่นหนังสือพิมพ์ "ไทยหนุ่ม หาว่าเป็นเสนียดร้ายและศัตรูต่อพระพุทธศาสนา หนังสือพิมพ์ หลักเมือง กล่าวโทษนรินทร์ว่า เป็นขบถต่อพระพุทธศาสนา ควรมีโทษถึงประหารชีวิต หนังสือพิมพ์ ศรีกรุง ยุให้รัฐบาลรีบจัดการกำจัดเสีย ทางมหาเถรสมาคมก็พากันโจมตจีว่านริทร์เป็นผู้ทำลายพุทธศาสนาและบีบบังคับให้สามเณรีสึกเสีย ทางฝ่ายนรินทร์เห็นว่ายังไม่ควรสึก เพราะไม่ผิดหลักพุทธศาสนา อีกประการหนึ่ง การบวชเป็นไปโดยสมัครใจของเหล่าสามเณรี ฉะนั้นการสึกก็ต้องทำโดยสมัครใจ จะให้ตนบังคับไม่ได้ อย่างไรก็ดี เพื่อให้ปัญหาการบวชสามเณรีและการฟื้นฟูภิกษุณีกระจ่างแจ้ง และได้ข้อสรุปว่าควรหรือไม่ควร นรินทร์จึงเชื้อเชิญผู้รู้ ทั้งที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยเข้าร่วมอภิปรายแลกเปลี่ยนความิคดเห็นและชี้แจงเหตุผลเพื่อหาข้อสรุป โดยเรื่องขอใช้ห้องประชุม สามัคคยาจารยสโมสร เป็นสถานที่อภิปรายแลกเปลี่ยน (คำทำประชาพิจารณ์ หรือ Public hearing) แต่กระทรวงธรรมกาเจ้าของสถานที่ มิยินยอมให้ใช้ ทั้งๆ ที่สถานทีนี้ถูกกำหนดให้เป็นสาธารณสถานเพื่อใช้ประชุมทางศาสนาแก่สาธารชนทั่วไป เป็นผลให้การประชุมดังกล่าวมิอาจจัดขึ้นได้ ความคิดจะรื้อฟื้นภิกษุณีของนรินทร์ จึงยังคงเป็นความคิดเถื่อนอยู่ต่อไป เรื่องราวของสามเณรีถูกนำเข้าสู่ทีประชุมอภิรัฐมนตรีสภาครั้งที่ 12/2472 วันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2472 เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานหนังสือพิมพ์ ไทยหนุ่ม ซึ่งลงเรื่องและรูปสามเรณีให้สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์ฯ ทอดพระเนตร และมีราชดำรัสว่า เห็นจะต้องจัดการอย่างใดอย่างหนึ่ง สมเด็จพระเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์ฯ ทรงรับไปปรึกษาอธิบดีกรมอัยการ หลังปรึกษาแล้วได้ความว่าจะเอาผิดนรินร์ทางอาญาไม่ได้ เรื่องราวของสามเรณีให้เข้าสู่ทีประชุมอภิรับมนตรีสภาอีก 3 ครั้ง คือในวันที 2,9 และ 16 สิหงหาคม ปีเดียวกัน ในที่สุดก็ลงความเห็นว่า ถ้ารัฐบาลไม่กระทำอะไรให้จริงจัง ก็เป็นการเสียรัศมีรัฐบาล ในวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2472 เจ้าหน้าที่ก็ได้เข้าจับกุมตัวสมเรณีและศาลจังหวัดนนทบุรีให้ตัดสินจำคุก เจ้าหน้าที่เรือนจำและนักโทษหญิงได้ใช้กำลังเข้าบังคับเปลื้องผ้าเหลืองออกจากสามเณรี เพื่อให้ใส่ชุดนักโทษแทน เรื่องราวเหล่านี้เกิดขั้นในช่วงที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสชวา นรินร์เห็นว่าเจ้าหน้ที่เรือนจำทำการเกินกว่าเหตุ จึงโทรเลขข้ามประเทศกราบบังคมทูลร้องเรียนขอคามเนธรมกาพระรองค์ กรณีสามเณรีที่นรินทร์คิดว่าท่านฟื้นฟูขึ้นนี้ ทำให้รัฐบาลต้องคิดบัญญติกฎหมายใหม่เพื่อให้ฝ่ายอาณาจักคุ้มครองฝ่ายพุทธะจักรได้ มีการยอกร่างพระราชบัญญัติการปกครองคณะสงฆ์ขึ้นใหม่ด้วย ![]() (จากการเสวนาเรื่อง นรินทร์ กลึง ขวางโลกทำไม คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2536 ข้อเขียนนี้เป็นการนำเสนอของดร. ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ ในฐานะอาจารย์ผู้สอนวิชาปรัชญา) ปฏิกิริยาเชิงลบที่เราได้รับในช่วง พ.ศ. 2498 นั้น สะท้อนให้เราเห็นว่าสมัยที่คุณนรินทร์ บวชลูกสาวให้เป็นสามเณรีและภิกษุณีนั้นประสบปัญหาและแรงต้านจากสังคมเพียงใด หลายคนอธิบายว่า จริงๆ แล้วลูกสาวไม่รู้อีโหน่อีเหน่ พ่อให้บวชก็บวช ดิฉันเองอดที่จะชื่นชมอยู่ในใจมิได้ว่า เออ เขาเลี้ยงลูกได้ดีนะ ให้บวชก็บวชตามใจพ่อ เหตุผลประการหนึ่งที่คุณนรินทร์ต้องการให้ลูกสาวบวชเพราะเป็นวิธีการที่จะพยายามฟื้นฟูภิกษุณีสงฆ์ โดยความเข้าใจว่าสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงประดิษฐานพุทธบริษัท 4 ไว้ในพระพุทธศาสนา พุทธบริษัท 4 นั้น คือภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา มีพระอาจารย์บางท่านมักอธิบายว่าเป็น ภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ดิฉันขอถือโอกาสแก้ความเข้าใจผิดไว้ตรงนี้ การอธิบายดังกล่าวเป็นความคลาดเคลื่อนทางวิชาการ ในเมื่อประเทศไทยไม่มีภิกษุณีสงฆ์ พระพุทธศาสนาก็มีรากฐานที่ไม่มั่นคง ถึงควรที่จะส่งเสริมสนับสนุนให้มีภิกษุณีสงฆ์ เพื่อให้ครบพุทธบริษัท 4 เป็นทีน่าสังเกตว่า ก่อนที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานนั้น มารมาทูลเชิญให้พระพุทธองค์เสด็จดับขันธ์ปรินิพพานเสียเถิด สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงปฏิเสธ โดยทรงให้เหตุผลว่า จะยังไม่เสด็จดับขันธ์ปรินิพพานจนกว่าจะได้ประดิษฐานพุทธบริษัทั้ง 4 ให้มั่นคงเสียก่อน การประดิษฐานพุทธบริษัท 4 ให้มั่นคง หมายความว่า พุทธบริษัท 4 คือชาวพุทธทั้งที่บวชและที่เป็นฆราวาส ทั้งชายและหญิงจะได้ศึกษาและปฏิบัติธรรมวินัยได้ถูกต้องชัดเจน นี่คือการวางรากฐานในพระพุทธศาสนา คุณนรินทร์ชี้ประเด็นนี้ว่า พุทธบริษัทที่มีอยู่นั้นไม่ครบองค์ เปรียบเสมือนเก้าอี้ 4 ขา แต่มีขาเหลือเพียง 3 ขา ทำให้พระศาสนาไม่มั่นคง จึงพยายามสนับสนุนให้มีภิกษุณีสงฆ์ขึ้น เริ่มต้นด้วยการแสดงความเชื่อมั่นและเสียสละส่วนตัวโดยให้ลูกสาวทั้งสอง คือคุณสาระ และจงดี ออกบวช ดิฉันให้ความสำคัญตรงนี้ว่าคุณนรินทร์มีความกล้าหาญในการที่จะแสดงความคิดเห็นต่างไปจากสังคมส่วนใหญ่ และเป็นความเห็นที่ชอบธรรม มีเหตุมีผล ไม่เพียงแต่แสดงความคิดเห็นเท่านั้น แต่ยังมีความกล้าที่จะผูกพันด้วยการกระทำ คือให้ลูกสาวออกบวชพิสูจน์ความเชื่อในความคิดนั้น ที่จริงแล้ว ผู้ที่เห็นด้วยมีจำนวนไม่น้อย เพราะปรากฏว่าสามเณรีทั้งสอง มีผู้มาเข้าร่วมบวชด้วยอีก 6 คน สามารถจัดตั้งเป็นคณะสงฆ์ฝ่ายหญิงได้ เวลาพายเรือออกบิณฑบาตก็มีผู้คนใส่บาตรให้ ครั้งหนึ่งที่สามเณรีทั้งสองเดินทางไปต่างจังหวัด ได้เข้าพำนักอยู่ในวัดแห่งหนึ่ง ปรากกว่าคณะสงฆ์มีคำสั่งลงไปมิให้เจ้าอาวาสให้ที่พักแก่สามเณรีทั้งสอง พระเจ้าอาวาสรูปนั้นตอบกลับไปว่า ตามปกติหากมีภิกษุสงฆ์ผ่านมา หากปฏิบัติอยู่ในพระธรรมวินัยก็มิได้มีความรังเกียจ จัดหาที่พักให้อยู่ในฐานะพระอาคันตุกะ ในเมื่อสามเณรีทั้งสองมิได้ประพฤติผิดแต่ประการใด หากคณะสงฆ์รังเกียงไม่ต้องการให้สามเณรีทั้งสองอยู่ทีวัด ก็ขอให้มาออกปากไล่เอง แรงต้านทั้งกระแสโลกและกระแสธรรมมีอยู่มาก ทำให้สามเณรีทั้งสองซึ่งต่อมาได้บวชเป็นภิกษุณีจำเป็นต้องลาสิกขาบทในที่สุด หลังจากใช้ชีวิตเป็นนักบวชมานานทั้งสิ้น 6 ปี แรงต้านการบวชผู้หญิงเป็นภิกษุณีในสมัยคุณนรินทร์นั้นมีสาเหตุอื่น ที่จะต้องนำมาพิจารณาด้วยว่า ในความเป็นจริงอามิใช้การต่อต้านการบวชภิกษุณีนัก แต่เป็นการต่อต้านการกระทำของคุณนรินทร์ทุกรูปแบบ ในการวิพากษ์สังคมนั้น คุณนรินทร์มุ่งที่คณะสงฆ์เป็นเป้าหลักในการโจมตี การต่อต้านภิกษุณีสงฆ์ที่คุณรนริทน์สนับสนุนจึงอาจเป็นวิธีหนึ่งคณะสงฆ์จะเอาชนะคุณนรินทร์ได้ เพราะไม่สามารถปราบคุณนรินทร์ได้ด้วยวิธีอื่น ในการสนับสนุนผู้หญิงนั้นคุณนรินทร์ อาจจะนับได้ว่าเป็นนักสตรีนิยมในรุ่นแรกๆ คนหนึ่งได้เหมือน แนวคิดในเรื่องการสนับสนุนผู้หญิงสอดคล้องกัน นับตั้งแต่สนับสนุนให้ผู้หญิงบวชเป็นภิกษุณี คุณนรินทร์เสนอต่อไปว่า ผู้ชายต้องมีเมียเดียว นับเป็นวิวัฒนาการทางความคิดที่ก้าวหน้ามาก เพราะสมัยนั้นยังเป็นสมัยที่ผุ้ชายนิยมมีเมียหลายคน สืบเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้ก็ยังมีบ้านใหญ่บ้านเล็กให้ปรากฏ นอกจากนั้นยังเสนอว่าไม่ควรอนุญาติให้ผู้หญิงเป็นโสเภณี ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นความิคดที่สนับสนุนและพยายามที่จะฟื้นฟูฐานะของสตรีทั้งสิ้น หากรัฐบาลยอมรับความคิดเห็นของคุณนรินทร์บ้าง โดยเฉพาะในประเด็นหลังที่ไม่อนุญาตให้ผู้หญิงเป็นโสเภณี ชาวไทยคงไม่ต้องไปทะเลากับดิกขันนารีของลองแมนส์ ในเรื่องที่จะมามองกรุงเทพฯ เป็นแหล่งโสเภณีให้ช้ำใจเช่นทุกวันนี้ ในส่วนของพุทธศาสนา ดิฉันมองว่าคุณนรินทร์เป็นคนที่มีความกล้าที่จะวิพากษ์ทุกคนไม่เว้นหน้าอินทร์หน้าพรหม ที่คุณนรินทร์เห็นว่าทำผิด ในลักษณะดิฉันไม่อยากเอ่ยว่าคุณนรินทร์เป็นคนขวางโลก เพราะอาการขวางมันไปในแนวนอน เป็นอาการของเดียรัจฉาน ดิฉันมองว่าคุณนรินทร์มีความคิดทีเป็นแนวตั้งมุ่งสู่ความถูต้องและในที่สุดมุ่งสู่พระนิพพาน แต่โลกทั้งโลกดูมันจะขวางไปหมดสำหรับคุณนรินทร์ คุณนรินร์เดินแนวตั้งอยู่คนเดียว จึงต้องมีพลังอย่างแรงกล้าที่จะหยั่งรากลงให้ลึก รากของคุณนรินทร์ก็คือพุทธศาสนาที่เป็นแรงบันดาลใจให้เห็นว่าความถูกต้องยุติธรรมว่าควรเป็นอย่างนี้ ใครก็ตามที่คุณนรินทร์เห็นว่าทำผิดไปจากทำนองคลองธรรม คุณนรินทร์จะวิพากษ์ทันที ตรงและรุนแรง ไม่ว่าคนนั้นจะเป็นจอมพล ป. หรือพระผู้ใหญ่ในคณะสงฆ์ก็ตามที วิธีการเช่นนี้เป็นวิธีการที่คนไทยรอรับได้ยากและเป็นการสร้างศัตรูโดยตรง เรื่องสำคัญสำหรับคณะสงฆ์ คือเรื่องที่คุณนรินทร์เสนอให้มีการสังคายะพระศาสนาเพราะเห็นว่าโรคร้ายแรงที่สุดคือการที่พระสงฆ์ปฏิบัติคลาดเคลื่อนไปจากพระะรรมวัย พระสงฆ์เบียดเบียนชาวบ้านโดยการหลอกลวงให้ชาวบ้านทำบุญจนถึงขนาดบางคนสิ้นเนื้อประดาตัวในขณะที่พระสอนให้ชาวบ้านบริจาคทาน แต่พระสงฆ์เองกลับเป็นคนสะสม ในขณะที่วิพากษ์พระสงฆ์นั้น คุณนรินทร์ก็โจมตีการนับถือศาสนาของชาวไทยทีทำบุญโดยหวังผลตอบแทน แทนที่จะเป็นการทำบุญเพื่อละวางกิเลส คุณนรินทร์โจมตีคนที่ทำบุญหวังผลในอนาคตกาลว่า ไม่เข้าใจคำสอนของพระพุทธองค์ โดยแท้จริง ควรเพ่งพิจารณาการปฏิบัติเพื่อให้เกิดผลในชาตินี้ คุณนรินทร์ถือเป็นภาระหน้าที่ของตนทีได้รับมอบหมาจากคุณพุทธบริษัทสมาคมให้เป็น ผู้ประกาศและแนะนำชี้แจงแก่ผู้ที่ไม่เรื่องพุทธศาสนาให้ตักเตือนผู้ที่ประพฤติไม่ถูกโดยเข้าใจผิด ในพ.ศ. 2473 ได้ทำหนังสือกราบบังคมทูลขอให้สังคายนาไล่พวกอลัชชีเหมือนครั้งพระเจ้าอโศกมหาราช |
กลับหน้า การสืบสายภิกษุณี |
|
วัตรทรงธรรมกัลยาณี
เลขที่ 195 ถนนเพชรเกษม
ต. พระประโทน
อ. เมืองฯ จ. นครปฐม
73000 |