สู่โพธิสัตต์มรรค |
ในฝ่ายเถรวาทนั้น เมื่อกล่าวถึงโพธิสัตต์ ก็มักจะเข้าใจถึงอดีตชาติของพระพุทธเจ้าก่อนที่จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า มีชาดกที่เล่าถึงเรื่องราวของพระเจ้า ๕๐๐ ชาติบ้าง หรือเลือกกล่าวเฉพาะพระชาติที่สำคัญเรียกว่า ทศชาติบ้าง ในพระชาติเหล่านั้น พระพุทธเจ้ายังทรงเป็นพระโพธิสัตต์ทั้งสิ้น โดยทั่วไปแล้วชาวพุทธในนิกายเถรวาทจะพึงพอใจ ที่จะบำเพ็ญเพียรเพื่อบรรลุอรหันต์หมดสิ้นอาสวกิเลส หลุดพ้นไปเฉพาะตน แต่ในประวัติศาสตร์ชาติไทยที่ผ่านมาก็ปรากฏว่ามีพระมหากษัตริย์ที่ทรงปรารถนาพุทธภูมิและทรงบำเพ็ญบารมีตามแนวทางพระโพธิสัตต์มาแล้ว เช่นพระเจ้าลิไท ในสมัยสุโขทัย สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ในสมัยอยุธยา และสมเด็จพระเจ้าตากสิน ในสมัยกรุงธนบุรี เป็นต้น ข้อแตกต่างประการหนึ่งระหว่างเถรวาทกับมหายานก็อยู่ตรงเรื่องโพธิสัตต์นี้เอง โดยที่เถรวาทนิยมปฏิบัติตามคำสนอของพระพุทธองค์โดยเริ่มนับตั้งแต่เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะตรัสรู้ พระสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้า เมื่อพระชนม์ ๓๕ พรรษา ส่วนมหายานนั้นสนใจแนวทางการปฏิบัติของเจ้าชายสิทธัตถะตั้งแต่ในอดีตจนได้บรรลุเป็นพระพุทธเจ้า และพยายามดำเนินชีวิตตามแบบอย่างของพระองค์ ขบวนการโพธิสัตต์เริ่มต้นขึ้นภายหลังพุทธปรินิพพาน เมื่อพระพุทธศาสนาประดิษฐานตั้งมั่นแล้ว พระเถระกลุ่มหนึ่งมุ่งเน้นการปฏิบัติเฉพาะตน ทำให้พระสงฆ์อีกกลุ่มหนึ่งหันมารณรงค์เรื่องอุดมการณ์โพธิสัตต์ขึ้น โดยมุ่งเน้นความหลุดพ้นของสรรพสัตว์ไปพร้อมๆ กับการปฏิบัติตน อุดมการณ์โพธิสัตต์นั้น เริ่มจากการมีโพธิจิต นั้นคือมีจิตมุ่งมั่นในการเข้าถึงความหลุดพ้น องค์ทะไลลามะรับสั่งเสมอว่า ที่ปรารถนาพุทธภูมินั้น เพียงเพื่อจะได้มีความสามารถมากยิ่งขึ้นในการช่วยเหลือสรรพสัตว์มากขึ้น เพื่อโพธิจิตเกิดขึ้น และตั้งมั่นในใจแล้ว ผู้ที่ปรารถนาจะดำเนินตามโพสัตต์มรรค จะตั้งปณิธานที่สำคัญ คือ ...........๑. เพื่อช่วยสรรพสัตว์ ...........๒. เพื่อทำลายกิเลสร้ายทั้งปวง ...........๓. เพื่อแสวงหาสัจธรรมและสั่งสอนผู้อื่น ...........๔. นำสรรพสัตว์สู่ความเป็นพุทธะ ศีลโพธิสัตต์ของบรรพชิต ในฝ่ายของบรรพชิตนั้น โพธิสัตต์จะรักษา ๕๘ สิกขาบท แยกเป็นครุกาบัติ ๑๐ ข้อ และลหุกาบัติอีก ๔๘ ข้อ ดังนี้ ...........๑. เว้นการฆ่าสัตว์ ...........๒. เว้นการลักทรัพย์ ...........๓. เว้นการละเมิดกาเมสุมิจฉาจาร ...........๔. เว้นการดื่มสุราเมรัย ...........๕. เว้นจากการพูดเท็จ ...........๖. เว้นจากการกพูดส่อเสียด ...........๗. เว้นจากการพูดหยาบคาย ...........๘. เว้นจากความอิจฉา ...........๙. เว้นจากความริษยา ...........๑๐. ไม่เป็นผู้มีมิจฉาทิฎฐิ ...........๑๑. ต้องเคารพผู้มีศีลอาวุโสและครูอาจารย์ของตน ...........๑๒. ไม่ดื่มสุราเมรัยและเสพของมึนเมาทุกชนิด ...........๑๓. ไม่บริโภคเนื้อสัตว์ทุกชนิด ...........๑๔. ไม่บริโภคผักที่มีกลิ่นฉุนจัด ทำให้เกิดกามราคะ เช่น หอม กระเทียม คึ่นไฉ่ ...........๑๕. ต้องตักเตือนผู้ต้องอาบัติให้แสดงอาบัติ ...........๑๖. ต้องถวายสังฆทานแก่ผู้ที่แสดงธรรมถูกต้องตามพุทธพจน์ ...........๑๗. ต้องหมั่นไปฟังการสอนธรรม ...........๑๘. ไม่คัดค้านคำสอนของมหายาน ...........๑๙. ต้องช่วยเหลือคนเจ็บไข้ ตามสมควรแก่ฐานะ ...........๒๐. ไม่มีอาวุธสำหรับฆ่ามนุษย์หรือสัตว์ไว้ในครอบครอง ...........๒๑. ไม่เป็นฑูตสื่อสารทางการเมือง อันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์แก่ผู้อื่น ...........๒๒. ไม่เป็นผู้ค้ามนุษย์ไปเป็นทาส หรือค้าขายสัตว์ให้เขาฆ่า หรือใช้งาน ...........๒๓. ไม่พูดนินทาใส่ร้ายผู้อื่น ...........๒๔. ไม่วางเพลิงเผาป่า ...........๒๕. ไม่พูดบิดเบือนข้อความพระธรรมให้เสื่อมเสีย ...........๒๖. ไม่พูดอุบายเพื่อประโยชน์ตน ...........๒๗. ไม่ประพฤติข่มขู่บังคับเขาให้ให้ทานวัตถุแก่ตน ...........๒๘. ไม่อวดอ้างตนเป็นอาจารย์ เมื่อตนยังเขลาอยู่ ...........๒๙. ไม่พูดกลับกลอกสองลิ้น ...........๓๐. ต้องช่วยสัตว์เมื่อสัตว์นั้นอยู่ในอันตรายและตนสามารถจะช่วยได้ ...........๓๑. ไม่ผูกพยาบาทอาฆาตผู้อื่น ...........๓๒. ไม่ทะนงตน ต้องขวนขวายศึกษาธรรมให้แตกฉาน ...........๓๓. ไม่เย่อหยิ่ง กระด้าง ก้าวร้าว เหยียดหยามผู้อื่น ...........๓๔. ต้องศึกษาและปฏิบัติธรรม ...........๓๕. ต้องระงับการวิวาท เมื่อสามารถระงับได้ ...........๓๖. ไม่ละโมบเห็นแก่ตัว ...........๓๗. ไม่น้อมลาภที่เขาถวายสงฆ์อื่นมาเพื่อตน ...........๓๘. ไม่น้อมลาภที่เขาถวายสงฆ์อื่นไปถวายสงฆ์ที่ตนชอบ ...........๓๙. ไม่ทำเสน่ห์ยาแฝดฤทธิ์เวทให้คนคลั่งไคล้ ...........๔๐. ไม่ชักสื่อชายหญิงให้เป็นผัวเมียกัน ...........๔๑. ต้องช่วยเหลือไถ่ค่าตัวคนให้พ้นจากการเป็นทาสเมื่อสามารถทำได้ ...........๔๒. ไม่ซื้อขายอาวุธสำหรับฆ่ามนุษย์และสัตว์ ...........๔๓. ไม่ไปดูกระบวนทัพ มหรสพ และฟังการขับร้อง ...........๔๔. ต้องมีขันติ อดทน ในการสมาทานสิกขาบท ...........๔๕. ต้องมีความกตัญญูต่อบิดา มารดา อุปัชฌาย์ อาจารย์ และผู้มีพระคุณ ...........๔๖. ต้องมีสัจจะต่อคำปฏิญาณที่จะตั้งมั่นในพรหมจรรย์ ...........๔๗. ไม่ปฏิบัติธุดงควัตรในถิ่นที่มีอันตราย ...........๔๘. ต้องมีสัมมาคารวะ รู้จักที่ต่ำที่สูง ไม่ตีตนเสมอท่าน ...........๔๙. ต้องมีกุศลจิต สร้างบุญกุศล ให้ทานแก่ผู้ยากไร้ ...........๕๐. ไม่มีฉันทาคติ ลำเอียงต่อการให้บรรพชาและอุปสมบทแก่ผู้มีศรัทธาจะบวช ...........๕๑. ไม่เป็นอาจารย์สอนโดยเห็นแก่ลาภ ...........๕๒. ไม่กระทำสังฆกรรมแก่ผู้มีมิจฉามารยา ...........๕๓. ไม่เจตนาฝ่าฝืนพระวินัย ...........๕๔. ต้องเคารพสมุดพระคัมภีร์ของพระพุทธศาสนา ...........๕๕. ต้องสงเคราะห์โปรดเวไนยสัตว์ ...........๕๖. ไม่ยืนหรือนั่งในที่ต่ำกว่า แสดงธรรมแก่ผู้อื่น ...........๕๗. ไม่ยอมจำนนต่ออำนาจที่ผิดธรรม ...........๕๘. ไม่ล่วงละเมิดธรรมคำสั่งสอนในพระศาสนา ........... สำหรับการรับศีลโพธิสัตต์ในฝ่ายฆราวาสที่ปฏิบัติที่วัดโฝกวางชาน เมืองเกาซุง ประเทศไต้หวันนั้น ก่อนการรับศีลจะต้องแสดงอาบัติ ๗ ข้อ ดังนี้ ...........๑. ท่านเคยขโมยของสงฆ์หรือไม่? ...........๒. ท่านเคยละเมิดกาเมสุมิจฉาจารหรือไม่? ...........๓. ท่านเคยทำความแตกแยกให้เกิดแก่คณะสงฆ์หรือไม่? ...........๔. ท่านเคยทอดทิ้งบิดายามท่านเจ็บไข้หรือไม่? ...........๕. ท่านเคยทอดทิ้งมารดายามท่านเจ็บไข้หรือไม่? ...........๖. ท่านเคยทอดทิ้งญาติผู้ใหญ่ ครูอาจารย์ ยามท่านเจ็บไข้หรือไม่? ...........๗. ท่านเคยพรากชีวิตที่มีโพธิจิตหรือไม่? หากไม่เคยก็ให้บอกว่าไม่เคย แต่ถ้าต้องอาบัติก็ให้รับเสีย เมื่อแสดงอาบัติแล้วนับเป็นการชำระจิตให้บริสุทธิ์ ตั้งใจมั่นที่จะไม่ละเมิดอาบัติดังกล่าวอีก เมื่อจิตใจตั้งมั่นในโพธิสัตต์มรรคต่อไปจึงรับปณิธาน สำหรับฆราวาส สำหรับฆราวาสโพธิสัตต์มี ๑๔ ข้อดังนี้ ...........๑. ข้าฯ จะหมั่นท่องบ่นพระนามของพระพุทธเจ้าเสมอ ...........๒. ข้าฯ จะพึงหลีกเลี่ยงอกุศลกรรม ...........๓. ข้าฯ จะรักษาสิกขาบทแม้ด้วยชีวิต ...........๔. ข้าฯ จะสวดมหายานสูตรเสมอ (เพื่อให้เกิดความเข้าใจโดยถ่องแท้) ...........๕. ข้าฯ จะปลูกฝังโพธิจิตให้งอกงาม ...........๖. ข้าฯ จะช่วยสรรพสัตว์ที่ได้ทุกข์ ...........๗. ข้าฯ จะถวายทานแก่พระรัตนตรัยเสมอ ...........๘. ข้าฯ จะมีความกตัญญูกตเวทิตาต่อบิดามารดาและพึงเคารพอาวุโสเสมอ ...........๙. ข้าฯ จะเพียรเอาชนะความเกียจคร้าน และการศึกษาธรรมะเสมอ ...........๑๐. ข้าฯ จะระวังอายตนะมิให้หลงระเริงในโลกียกิเลส ...........๑๑. ข้าฯ จะตั้งใจช่วยสรรพสัตว์แม้มีจำนวนนับไม่ถ้วน ...........๑๒. ข้าฯ จะเพียรเอาชนะอุปสรรคแม้จะมากมายเพียงใดก็ตาม ...........๑๓. ข้าฯ จะศึกษาธรรมะแม้จะมีจำนวนมากมายเพียงใดก็ตาม ...........๑๔. โพธิสัตต์มรรคนั้นประเสริฐยิ่ง ข้าฯ จะเพียรพยายามให้ถึงพุทธภูมิ สำหรับโพธิสัตต์ศีลนั้นฆราวาสรับอีกชุดหนึ่งต่างจากบรรพชิต โดยของฆราวาสมี ๓๔ ข้อ แยกเป็นครุกาบัติ หรือศีลสำคัญ ๖ สิกขาบท และลหุกาบัติ หรือศีลย่อยอีก ๒๘ ข้อ ดังนี้ การรับศีลฆราวาสโพธิสัตต์เป็นการเตรียมฐานใจและกายที่ดีในการถวายตัวรับใช้พระศาสนา เป็นการกรุยทางให้มีสติในการที่จะเตรียมศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย ขณะเดียวกันก็เอื้อเฟื้อต่อผู้ที่ตกทุกข์ได้ยาก ช่วยเหลือผู้อื่นไปพร้อมๆ กัน เป็นการปรับมุมมองที่มีต่อตนเองและสังคมเสียใหม่ |