บวชสามเณรี-ภิกษุณี สมควรหรือไม่

         จากปัญหาความขัดแย้งเกี่ยวกับนางวรางคณา  วนวิชเยนทร์ อายุ 55 ปี แห่ง วัตรทรงธรรมกัลยาณี.พระประโทน อ.เมืองนครปฐม ที่เข้าพิธีบวชอ้างเป็นสามเณรีนุ่งห่มจีวรเหมือนพระสงฆ์และได้รับฉายาว่า ‘ธัมมรักขิตา’ โดยมีภิกษุณีจากประเทศศรีลังกาเป็นอุปัชฌาย์นั้น เป็นการบวชที่ไม่ถูกต้องและผิดระเบียบของคณะสงฆ์ไทยอาจทำให้ประชาชนเข้าใจผิดได้แต่ก็ถือเป็นสิทธิส่วนบุคคลที่สามารถทำได้ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญแต่ต้องไม่สร้างความเดือดร้อนให้ผู้อื่น
               รัฐธรรมนูญทุกฉบับรวมทั้งฉบับปัจจุบันรับประกันเสรีภาพในการนับถือศาสนาตลอดจนนิกายของศาสนา หรือลัทธินิยมในศาสนา มีเสรีภาพในการปฏิบัติตามศาสนบัญญัติหรือพิธีกรรมที่เชื่อถือในทางพระพุทธศาสนาถือว่ามนุษย์ไม่ว่าจะเป็นชายหรือหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน ผู้ปฏิบัติตามหลักธรรมในพระพุทธศาสนา ทั้งหญิงหรือชาย ย่อมบรรลุธรรมหรือหลุดพ้นจากความทุกข์ได้เท่าเทียมกัน
               แม้คณะสงฆ์ไทยจะไม่รับรองการบวชเป็นบรรพชิตหญิงเพราะถือว่าขัดต่อพระธรรมวินัยแต่ก็คงจะไม่ขัดขวางถ้าหากผู้หญิงไทยจะไปบวชตามพิธีของนิกายประเทศอื่น ซึ่งคณะสงฆ์ไทยคงจะไม่รับรองการบรรพชาสามเณรีครั้งนี้อย่างแน่นอน เพราะคณะสงฆ์เคยมีคำสั่ง ห้ามพระเณรทุกนิกายบวชผู้หญิงเป็นบรรพชิตเป็นคำสั่งตั้งแต่ พ.. 2471 โดยยึดหลักพระพุทธานุญาตที่ว่าการบรรพชาเป็นสามเณรีจะต้องมีภิกษุณีที่บวชมาตั้งแต่ 12 พรรษาขึ้นไปเป็นผู้บวชให้ส่วนภิกษุณีต้องบวชทั้งจากฝ่ายภิกษุและภิกษุณี แต่เมืองไทยไม่มีภิกษุณีมาหลายร้อยปีเป็นอันว่าคณะสงฆ์ไทยซึ่งมีแต่พระภิกษุล้วน ๆ จึงไม่สามารถบวชผู้หญิงเป็นสามเณรีหรือเป็นภิกษุณีได้ เพราะภิกษุณีได้ขาดสายหายไปเป็นเวลาช้านานจึงไม่มีใครเป็นอุปัชฌาย์บวชให้สตรีได้แต่ผู้หญิงไทยที่บวชเป็นสามเณรีคราวนี้ ได้ภิกษุณีจากศรีลังกาเป็นอุปัชฌาย์และเมื่อ ไม่นานมานี้ก็มีสตรีไทยไปบวชที่ศรีลังกา ย่อมแสดงว่าศรีลังกายังสืบทอดการบวชภิกษุณีและสามเณรีไม่ขาดสาย
               ในประวัติศาสตร์พระมหากษัตริย์ไทยเคยนำพระภิกษุศรีลังกาเข้ามาสืบทอดคณะสงฆ์ไทยและศรีลังกาก็เคยนำพระภิกษุไทยไปสืบทอดคณะสงฆ์ในประเทศของตนกลายเป็น นิกายสยามวงศ์ ที่โด่งดังเพราะทั้งสองประเทศต่างก็นับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทเช่นเดียวกัน จึงเป็นไปได้หรือไม่ที่ผู้หญิงไทยจะไป ขอเชื้อจากศรีลังกาเพื่อสืบทอดวงศ์บรรพชิตหญิงที่ขาดหายไป เรื่องนี้ค่อนข้างจะละเอียดอ่อนและอาจกระทบทั้งชาติและศาสนามหาเถรสมาคมอันเป็นองค์กรปกครองสูงสุดของคณะสงฆ์ไทยน่าจะออกมาแสดงจุดยืนที่แน่ชัด เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนในหมู่พุทธศาสนิกชนไม่ควรปล่อยให้นักการเมืองผู้ไม่สันทัดพระธรรมวินัยแก้ปัญหาทุกอย่าง เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องกฎหมายอย่างเดียวแต่เกี่ยวกับพระธรรมวินัยด้วยเป็นทั้งทางโลกและทางธรรม
               ซึ่งหากดูตามเงื่อนไขว่าถ้าบวชในฝ่ายนิกายเถรวาทถือตาม พ... สงฆ์ ก็ผิดแต่ถ้าบวชฝ่ายนิกายมหายาน แยกนิกายกันให้ชัด ๆ ไปเลยก็อาจจะไม่ผิดและที่มาของกฎหมายสงฆ์มาจากพระวินัยที่บัญญัติไว้ในพระปาติโมกข์ พระปาติโมกข์ก็คือพระวินัยที่พระพุทธเจ้า บัญญัติเป็นข้อห้าม ไม่ให้สงฆ์ประพฤติ ที่เราทราบดีว่าศีล 227 ข้อนั่นเองตามพระวินัยภิกษุณี ต้องรับวินัยถึง 311 ข้อ ซึ่งมากกว่าพระสงฆ์วินัยการบวชภิกษุณีก็เหมือนกับการบวชสามเณรคือมีอายุตั้งแต่ 7 ขวบขึ้นไปโกนศีรษะถือศีล 10 แต่สามเณรีจักต้องบวชโดยภิกษุณีและได้รับการยอมรับจากภิกษุสงฆ์
               อย่างไรก็ตามถ้าคิดจะบวชเป็น ภิกษุณี นั้นจะยุ่งยากกว่าการบวช ภิกษุสงฆ์ ตรงที่จะต้องมีการฝึกฝนก่อน 2 ปีเรียกว่า สิกขมานา เป็นการฝึกถือศีล 6 หรือ “ธรรม อย่างเคร่งครัด จะขาดข้อใดข้อหนึ่งไปไม่ได้หากขาดข้อใดข้อหนึ่งไปก็ต้องเริ่มนับหนึ่งกันใหม่ฝึกอย่างนี้เพื่อให้ตัวเองมีความมั่นใจมั่นคงใจบริสุทธิ์แล้วจึงจะเข้าพิธีบวชเป็นภิกษุณีโกนศีรษะนุ่งห่มสีเหลืองเช่นเดียวกับภิกษุสงฆ์ถือศีลมากกว่าภิกษุสงฆ์จุดสำคัญอีกจุดในการบวชเป็นภิกษุณีก็คือเมื่อ ภิกษุณีที่เป็นอุปัชฌาย์ซึ่งต้องมีพรรษาล่วง 12 ปีแล้วเรียกว่า ปวัตตินี บวชให้แล้ว ต้องให้อุปัชฌาย์ที่เป็นพระภิกษุสงฆ์บวชให้อีกครั้งจึงจะสมบูรณ์ แต่ประเด็นที่น่าติดตามยิ่งก็คือเมื่อบวชเป็น “ภิกษุณี” ครบ 12 ปีแล้วก็สามารถ เป็นอุปัชฌาย์บวชสามเณรีสืบทอดเองได้โดย ไม่ต้องพึ่งภิกษุณีจากต่างประเทศเท่ากับเป็นการปูทางแผ่ขยายนิกายใหม่ในแวดวงพุทธศาสนาเมืองไท ซึ่งหากแพร่หลายในอนาคตเราอาจเห็นภิกษุณีหรือพระผู้หญิงเป็นเรื่องธรรมดาก็เป็นได้


จากหนังสือพิมพ์ อินเตอร์ไทย  ฉบับวันที่ 21.. 45


Back



สถานที่ติดต่อ
  วัตรทรงธรรมกัลยาณี
เลขที่  195  ถนนเพชรเกษม  ต. พระประโทน
อ. เมืองฯ  จ. นครปฐม   73000
โทร. (034) 258-270  โทรสาร (034) 284-315
ติชม  [email protected]